วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เทคนิคการออมเงินอย่างไรให้รวยแบบง่ายๆ



เทคนิคการออมเงินอย่างไรให้รวยแบบง่ายๆ



การออมคืออะไร
            การออม หมายถึง ส่วนต่างๆระหว่างรายได้และรายจ่ายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง (Incomes - Expenses = Saving) อาจกล่าวได้ง่ายๆว่า เป็นเงินรายได้ที่เหลือจากการใช้จ่ายแล้วนำมาเก็บสะสมทีละเล็กที่ละน้อยให้พอกพูนขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป




         ผู้ที่รู้จักการเก็บออมถือเป็นคนที่มองการณ์ไกล เพราะการออมเป็นการยอมเสียสละที่จะไม่ใช้จ่ายในวันนี้ แต่เลือกที่จะเก็บสะสมเงิน เพื่อใช้จ่ายในวันข้างหน้า ทำให้ทรัพย์สินและความมั่งคั่งเพิ่มสูงขึ้น คนที่ร่ำรวยในสังคม ส่วนใหญ่นั้นไม่ได้ร่ำรวยมาเพราะโชคช่วยอย่างการถูกหวย หรือเกิดมาบนกองเงินกองทอง แต่คนเหล่านั้นเขามีความคิด รู้จักที่จะเก็บหอมรอมริบผสมเล็กผสมน้อยและรู้จักการวางแผนการใช้เงิน ดังนั้น ความสามารถในการออมจะมากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถในการเพิ่มรายได้ การลดรายจ่ายของแต่ละบุคคล และขึ้นอยู่กับความชาญฉลาด









วิธีการออมเงินแบบง่ายๆที่ควรลองทำ

วิธีการออมเงินแบบง่ายๆที่ควรลองทำ





ใครที่คิดว่าวัยรุ่นวัยเรียนหนังสือแบบเราจะเก็บเงินไม่ได้ ต้องรีบเปลี่ยนความคิดแล้ว หนุ่มๆ สาวๆ หลายคนอาจจะเกิดคำถามตามมาว่า “แล้วเราจะออมเงินได้ยังไง ในเมื่อเรายังไม่มีรายได้” ดั้งนั้นขอให้เราคิดว่าเราก็สามารถออมเงินได้เหมือนกัน

1. เปิดบัญชี
    เปิดบัญชีออมทรัพย์ใหม่หนึ่งบัญชี ( ถ้าเป็นไปได้เปิดบัญชีฝากประจำได้ยิ่งดี จะได้เป็นการบังคับตัวเองให้ออมเงินไปในตัว ) แต่ข้อสำคัญคือห้ามทำบัตรเอทีเอ็ม เพราะถ้าเราฝากเงิน แต่ถ้ามีบัตรเอทีเอ็มในมือ ความพยายามที่ตั้งใจจะเก็บเงินมีอันต้องพังไม่เป็นท่าแน่ๆ เพราะเราจะกดเงินเมื่อไหร่ที่ไหนก็ได้ เพราะงั้นต้องตัดไฟตั้งแต่ต้นลม ห้ามทำบัตรเอทีเอ็มเด็ดขาด

2. ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย 
     ตั้งแต่เด็ก มักจะเห็นคุณแม่จดอะไรซักอย่างในสมุดเสมอๆ พอโตขึ้นมาถึงรู้ว่า อ๋อ คุณแม่เราทำรายรับรายจ่ายนั่นเอง อย่าเพิ่งมองว่าไร้สาระหรือมีแต่เด็กๆ ชั้นประถมเท่านั้นที่ต้องทำ เพราะการทำบัญชีรายรับรายจ่ายจะช่วยเตือนสติว่าในหนึ่งวันเนี่ย เราหมดเงินไปกับอะไรบ้าง การทำรายรับรายจ่ายเป็นเสมือนกระจกที่สะท้อนพฤติกรรมของเราว่าอุปนิสัยการใช้จ่ายของเราเป็นยังไง เราหมดเงินไปกับอะไรมากที่สุด เมื่อเรามองเห็นพฤติกรรมของตัวเอง เราก็จะสามารถปรับนิสัยที่ไม่ดีในการใช้เงินของตัวเองได้ และสามารถสร้างวินัยทางการเงินได้

3. อย่าพกเงินมากๆ ไว้กับตัว
    ข้อนี้เบสิกสุดๆ แต่ทำได้ยากเหลือเกิน ถ้าเกิดเพื่อนๆ นัดเราออกไปเจอกันตามห้างสรรพสินค้า เราอาจจะพกเงินไปแค่สามร้อยก็พอ เป็นค่ารถซักร้อยนึง อีกสองร้อยไว้เป็นค่าอาหารกับค่าขนม ถ้าเพื่อนๆ ชวนไปเดินดูของ ก็ต้องข่มใจไว้ เพราะในตัวมีเงินแค่สามร้อย ถ้าเอามาซื้อของหมดก็ไม่มีค่ารถกลับบ้าน เห็นมั้ยครับ พอไม่มีเงิน ก็ทำให้เราประหยัดได้

4. ทำงาน Part time
    สำหรับหนุ่มๆ สาวๆ บางคนที่อยากหาประสบการณ์และอยากหารายได้พิเศษช่วงปิดเทอม แนะนำให้ลองไปทำงานตามร้านต่างๆ อาจจะเป็นร้านพิซซ่า แมคโดนัลด์ ร้านกาแฟ ร้านหนังสือก็ได้ นอกจากจะฝึกความอดทนให้เราแล้ว เรายังได้เงินค่าขนมมาเพิ่มอีกด้วย พอได้เงินนส่วนนั้นมาก็เอาส่วนนึงไปฝากธนาคาร อีกส่วนเอาไปให้คุณพ่อคุณแม่






  

วิธีการหักห้ามใจเมื่อเจอของที่อยากได้


วิธีการหักห้ามใจ เมื่อเจอของที่อยากได้

1. ก็ถามใจตัวเองก่อนว่าอยากได้จริงหรอ เอาไปทำไม ใช้ทุกวันรึเปล่า ถ้ามีเครื่องสำอางอยู่แล้ว จะซื้อเพิ่มทำไม ใช้ทันหรอ ถ้าใช้ไม่ทันก็เสียดายเปล่าๆ ไว้ใช้หมดค่อยซื้อใหม่ก็ได้ เงินจะได้ไม่จม เอาตังค์ไปซื้ออย่างอื่นที่อยากได้ในอนาคตไม่ดีกว่าหรอ

2. เจอปุ๊บ มองก่อน เดินผ่านไป กลับมานอนคิด เอาดีไม่เอาดี ไปมองของที่ตัวเองมี คิดว่าซื้อมาแล้วจะใช้คุ้มไหม อีก 2 วัน ถ้ายังอยากได้ ให้กลับไปดู กรณีที่ 1 มีคนซื้อไปแล้ว ก็เสียดาย เจ็บใจเล่นๆ และผ่านไป กรณีที่ 2 เริ่มอยาก มองหาตำหนิ และคิดว่า ที่อื่นคงมีสวยกว่านี้ วันที่ 4 ถ้ายังอยากได้ ไตร่ตรองดีแล้ว ก็ซื้อเลย แต่ส่วนใหญ่กลับมาถึงบ้าน กิเลสก็หายแล้วนะ



3. พกเงินไปน้อย ๆ อยากได้แค่ไหน เงินไม่อำนวยก็ไม่สามารถซื้อได้
หลีกเลี่ยงแหล่งที่คิดว่า ไปแล้วจะอดใจไม่ได้ที่จะซื้อ
หลีกเลี่ยงการคบเพื่อนนักช๊อป (อันนี้สำคัญ)
คิดถึงสิ้นเดือน ว่าซื้อไปจะสิ้นใจรึปล่าว

 4. เป็นไปได้อย่าพกบัตรเครดิตค่ เอาแค่เงินสดไป(ไม่ต้องเยอะมาก) แล้วเปิดกระเป๋าตังมา ลองหยิบเงินเท่ากับราคาของที่เราอยากได้ 

5. นึกถึงของที่ตัวเองมี ว่ามันอาจจะคุ้มค่าหรือใช้ทดแทนกันได้  ซื้อแล้วใช้คุ้มไหม 

6. เคล็ดลับส่วนตัว ถ้าเป็นเวลาเข้าซุปเปอร์มาเกตรึเซเว่นแล้วอยากได้ขนม สมมติว่าเราเล็งไว้สิบอย่าง ก็จะเทียบราคาแล้วเอาซักห้าชิ้นไรทำนองนั้น ครึ่งต่อครึ่ง


7. ถามตัวเองว่า อยากได้จริงเหรอหลายๆ ครั้ง แล้วคิดถึงคนรอบๆ ข้างที่จะต้องไม่พอใจ อย่างพ่อแม่  และวิธีที่ตัวเองใช้ได้ดีมาตลอด คือ ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตัวเองทุกวัน ทำให้เรารู้สถานะทางการเงินของตัวเองตลอด เพราะเมื่อก่อนเป็น "พวกบ้าซื้อ" มาก่อน เข้าขั้นรุนแรงแบบละลายเงินสี่แสนได้ภายในเวลาไม่ถึงสองเดือน เพิ่งมาจะสำนึกก็เมื่อตอนเกิดเจ็บป่วย-เข้าโรงพยาบาล นอนเป็นเดือน แล้วไม่มีเงินสดพอจ่ายค่าส่วนต่างจากประกันชีวิต พ่อแม่ ต้องเดือดร้อนไปหมด แต่ข้าวของที่เราซื้อมาถมไว้ในห้อง ช่วยอะไรเราไม่ได้เลย

8. ปกติก็ไม่ค่อยจะห้ามตัวเองเรื่องช๊อปแต่จะซื้อตอนลดราคาเท่านั้น แล้วเปรียบเทียบราคาว่าคุ้มกับเงินที่เสียไปรึเปล่า ถ้าเป็นของสิ้นเปลืองเกินความจำเป็นที่อยากได้ก็จะพยายามเอาธรรมะเข้าข่ม 



22 เคล็ดลับของการออมเงิน


22 เคล็ดลับของการออมเงิน มีดังนี้


1. จ่ายให้ตัวเองก่อนอันดับแรก กันส่วนหนึ่งของเงินเดือนที่ได้รับ จะมากจะน้อยให้นำไปฝากเข้าบัญชีธนาคารทุกๆ เดือน แล้วอย่าไปยุ่งกับบัญชีนั้นเด็ดขาด ถ้าจำเป็นต้องถอนเงินส่วนนี้ ให้ถือว่ากำลังกู้เงิน เวลาคืนต้องคืนทั้งต้นทั้งดอก

2. เก็บเหรียญทั้งหลายลงกระปุก เปิดอีกบัญชีสำหรับเงินหยอดกระปุก อย่าดูถูกการสะสมเงินเล็กเงินน้อย จากก้อนเล็กๆ เติบโตกลายเป็นเงินก้อนใหญ่ในอนาคต

3. เก็บเงินคืนที่ได้รับจากเรื่องต่างๆ เข้าบัญชีธนาคาร เงินรับที่เป็นเบี้ยหัวแตก เช่น เงินคืนตามโปรโมชันการซื้อสินค้า เงินคืนเบี้ยประกัน รายได้เบี้ยให้รายการต่างๆ ให้รวมเป็นบัญชีเดียว แล้วทำบัญชีไว้ คุณจะได้รู้ว่า ณ สิ้นปีรายรับที่ได้จากเงินคืนพวกนี้มันมากขนาดไหน รายรับพวกนี้เป็นรายรับไม่ต้องเสียภาษี น่าเสียดายที่จะใช้ทิ้งๆ ขว้างๆ

4. จ่ายเงินค่างวดผ่อนต่างๆ เข้าบัญชีตัวเอง (แม้เมื่อผ่อนค่างวดนั้นหมดแล้ว) คุณ กำลังผ่อนค่างวดรถ (หรือจอแบน) อยู่หรือเปล่า ถ้าใช่ ขอให้คุณผ่อนต่อไปด้วยเงินจำนวนเท่าเดิม แต่จ่ายเข้าบัญชีเงินออมของคุณเอง วิธีนี้คุณไม่เดือดร้อนเพราะคุณเคยชินกับภาระผ่อนนั้นๆ อยู่แล้ว ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขว่าคุณไม่มีภาระผ่อนอะไรใหม่ๆ เข้ามาอีก





5. หยุดนิสัยฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย รายจ่ายฟุ่มเฟือยต่างๆ ตัดทิ้งให้หมด ทำรายการขึ้นมาว่าต้องใช้จ่ายอะไรบ้าง หลายคนแปลกใจว่ายิ่งคิดยิ่งตัดได้เรื่อยๆคิดก่อนใช้ตรึกตรองถึงความจำเป็นมากน้อยจัดลำดับให้ดี

6. เพิ่มผลตอบแทนการลงทุน ไม่ควรยอมรับผลตอบแทนดอกเบี้ยต่ำ เงินออมที่มีอยู่ ควรไปสร้างเงินต่อด้วยการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ให้ ผลตอบแทนสูงสุด ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างสมดุลในการรับความเสี่ยงด้วย

7.เป็นสมาชิกสหกรณ์ เป็นวิธีง่ายสุดของการออมเงิน พร้อมทั้งเป็นแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำอีกต่างหาก

8. ซื้อพันธบัตรรัฐบาล สำหรับประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการออกพันธบัตรประเภทต่างๆ ให้ผู้สนใจ ถ้าสนใจเข้าไปดูที่  www.bot.or.th การจำหน่ายพันธบัตรให้กับประชาชน สิ่งที่ต้องดูคือประเภทพันธบัตร อัตราดอกเบี้ย และวันจ่ายดอกเบี้ย

9. ใช้ประโยชน์จากการโอนเงินบัญชีธนาคาร เมื่อเงินเดือนถูกนำฝากเข้าในบัญชีของคุณแล้ว คุณควรให้มันอยู่ในบัญชีธนาคารให้นานที่สุด 

10. เข้าร่วมแผนออมเงินของบริษัท แผนการออมของบริษัทเป็นแผนออมเงินแบบปลอดภาษี และนายจ้างช่วยจ่ายสมทบ เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับลูกจ้าง

11.ใช้การเสียภาษีให้เป็นประโยชน์ เรียนรู้เรื่องภาษี ประโยชน์ที่คุณไม่ควรเสียและประโยชน์ที่คุณควรได้ (ลดหย่อน)

12. เข้าโครงการออมเงินที่น่าสนใจ เปิดหูเปิดตาให้กว้าง อาจมีโปรแกรมออมที่นึกไม่ถึง

13.ส้มหล่น อย่าเพิ่งกินหมดในคราวเดียว เงินก้อนใหญ่ไม่มาบ่อยครั้ง เช่น มรดก รางวัลเกมโชว์ 
ลอตเตอรี่ เงินปันผลกองทุน ฯลฯ เงินก้อนนี้ควรนำไปใช้ในการออมหรือลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ อย่าลืมปรึกษามืออาชีพด้านภาษีด้วย

14. รัดเข็ดขัดชั่วคราว อยากได้อะไรมากๆ ลองรัดเข็มขัดในช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่น 2-3 เดือน เพื่อออมเงินให้มากกว่าปกติ เก็บเงินได้เท่าราคาของแล้วจึงค่อยกลับสู่การดำเนินชีวิตปกติ

15. ฝากเงินเข้าบัญชีส่วนบุคคลเพื่อการเกษียณอายุสัปดาห์ละครั้ง ในต่างประเทศนิยมมาก มีการทำบัญชีฝากสะสมเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายก้อนใหญ่เพียงครั้งเดียว สำหรับไทยมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งนายจ้างจ่ายสมทบให้

16. ให้นำเงินเดือนส่วนเพิ่มไปฝาก ถ้า รับเงินเป็นรายสัปดาห์หรือราย 2 สัปดาห์ อาจเป็นได้ว่าบางเดือนคุณจะได้รับเงินมากครั้งกว่าปกติ เช่น ถ้าได้รับเงินเป็นรายสัปดาห์ จะมี 4 เดือนที่ได้รับเงินมากครั้งกว่าปกติ หรือถ้าได้รับเงินเป็นราย 2 สัปดาห์ จะมี 3 เดือนที่คุณได้เงินเดือน 3 ครั้ง ครั้งที่เกินมาให้นำไปเข้าบัญชีเงินออม (ทันที)

17. เก็บเงินเบิกรายการต่างๆ ส่วนที่เกินจากรายจ่ายจริงเข้าบัญชีเงินออม ค่าเดินทางหรือรายจ่ายอื่นที่เบิกบริษัทได้ ควรเก็บส่วนเกินจากรายจ่ายจริงไว้ หรือคุณอาจได้ค่าล่วงเวลา ควรเก็บเงินส่วนนี้มาออมเช่นกัน เช่น ได้ค่าล่วงเวลาเดือนละ 2,000 บาท ถึงสิ้นปีจะมีเงินก้อน 2.4 หมื่นบาท สามารถนำมาใช้จ่ายในกรณีพิเศษโดยไม่ต้องไปถอนเงินออมหลัก



18. ยืมมาออม บางคนประสบความสำเร็จในการกู้เงินธนาคาร แล้วนำกลับไปฝากในบัญชีเงินออมของตนเองอีกทีหนึ่ง วิธีนี้ใช้ได้ผลกับคนที่กำลังมีค่าหักลดหย่อน (เช่น กู้ซื้อบ้าน) และใช้ได้กับช่วงเวลาที่ดอกฝากมากกว่าดอกกู้ (หลังภาษี) เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันไม่ต้องพูดถึง

19. นำเงินปันผลและดอกเบี้ยไปต่อเงินโดยอัตโนมัติ เมื่อลงทุนหรือฝากเงินในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใด จัดการให้เงินปันผล หรือดอกเบี้ยสามารถนำฝากหรือลงทุนต่อได้อัตโนมัติ ในระยะยาวจะเห็นผลน่าพอใจ

20. ทิ้งเงินไว้ในบัญชีกระแสรายวันให้น้อยที่สุด มีคนจำนวนมากทิ้งเงินไว้ในกระแสรายวัน (เพราะปลอดดอกเบี้ย) แต่หารู้ไม่ว่ากำลังพลาดโอกาสในการทำเงิน ที่ควรก็คือมีเงินในกระแสรายวันให้พอกับรายจ่ายรายเดือน หากเงินเหลือให้โอนไปยังบัญชีเงินฝากที่มีดอกเบี้ยหรือโอนไปลงทุนใน ผลิตภัณฑ์การเงินที่มีดอกเบี้ยดีสุดในเวลานั้น

21. ใช้ประโยชน์จาก Float ความ หมายของ Float คือระยะช่วงที่ ผู้ถือเช็คได้รับเช็คไปจนกระทั่งถึงตอนที่ได้รับเงินสั่งจ่าย ตามเช็ค กล่าวคือ ช่วงที่ยังไม่ได้ถูกตัดบัญชีก็ควรแช่เงินไว้ในบัญชีเงินฝากให้นาน เท่าที่จะนานได้ ก่อนจะโอนไปเข้าบัญชีกระแสรายวันเพื่อตัดจ่ายเช็ค

22. จ่ายหนี้ให้หมด คุณอยากได้ผลตอบแทน 17-21% หรือเปล่าอย่ามีหนี้บัตรเครดิตสิ เคลียร์หนี้บัตรให้หมด รู้มั้ยว่าถ้ายอดหนี้อยู่ที่ 2.4 หมื่นบาท ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งปีอยู่ที่ 4,000-5,200 บาท รีบเคลียร์หนี้ให้หมด ผลตอบแทนที่คุณจะได้คือไม่ต้องเสียดอกเบี้ยก้อนนี้ การปลอดหนี้บัตรจึงเป็นวิธีออมเงินก้อนใหญ่ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีหนี้ (จริงๆ) หาบัตรที่ดอกถูกสุดมาใช้







วิธีการประหยัดเงิน แบบที่ 1

วิธีการประหยัดเงิน



วิธีการประหยัดเงินแบบที่ 1

วิธีการในการประหยัดเงิน สามารถทำได้ดังนี้
             1. ลงทุนซื้อกระปุกออมสินมาวางไว้ในที่ที่พบเห็นบ่อยครั้ง เช่น โต๊ะทำงาน ข้างเครื่องคอมพิวเตอร์ บนหัวเตียง ข้างรูปสุดที่รัก หรือแม้แต่หน้าห้องอาบน้ำ เป็นต้น เลือกเอาที่ใดที่หนึ่ง เพื่อเป็นการฝึกนิสัยการออม โดยจะได้ไม่ลืมใช้เงินอย่างฟุ้มเฟือยและหยอดออมสินทุกครั้งที่มีเงินเหลือ

              2. หัดรู้จักคำว่า “ความจำเป็น” กับ “น่ารัก” เพราะของทุกอย่างล้วนมีระดับความจำเป็นไม่เท่ากัน การซื้อโดยคำนึงแต่คำว่าน่ารักแล้วอยากได้อย่างเดียวนั้นไม่พอ ดังนั้นจึงควรคิดพิจารณาก่อนหยิบยื่นตรงแคชเชียร์ทุกครั้ง จะได้ไม่เสียใจเมื่อซื้อในภายหลัง เว้นแต่ว่าของสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่อยากได้จริงๆ เห็นสิ่งอื่นๆที่สวยกว่าเราไม่สนและเหมาะสมกับสภาพเงินที่มีก็สมควรซื่อได้เพื่อสนองความต้องการ

              3. วิธีนี้สำหรับคนที่ชอบจดชอบเขียนคือทำ “แบบบันทึกรายรับรายจ่าย” อาจทำเป็นสมุดเล่มเล็กเพื่อพกพาไปได้ทุกที่ จ่ายอะไรไปก็จดไว้ ได้มายังไงก็จดไป พอครบกำหนดก็รวมรายรับรายจ่าย วิธีนี้สามารถตรวจต่อมความฟุ้มเฟือยของเราได้เป็นอย่างดี

              4. หากรู้ตัวว่าต้องไปในที่ๆมีแต่ของฟุ้มเฟือย แพงหูฉีกจนแม้แต่เกิดใหม่ซักกี่ชาติก็ไม่สามารถหาตังค์มาซื้อได้ ให้ท่านยืนสงบนิ่งซักแป็บ แล้วเงินทั้งหมดออกจากกระเป๋า จะได้ไม่ต้องพกให้เมื่อยกุงเกงแถมประหยัดอีกต่างหาก

                5. ซื้อกระเป๋าที่มีช่องลับเยอะๆสำหรับพกไปเดินห้างสรรพสินค้าที่มีแต่ของสุรุ่ยสุร่าย เอาไว้ซ่อนเงินแล้วเวลาเกิดอยากได้อะไร พอเปิดกระเป๋าก็จะหาไม่เจอ ไม่ต้องจ่าย ไม่ต้องซื้อ ไม่ต้องเสียเงิน ประหยัดแบบวัยรุ่นยุคใหม่ ได้ทั้งความเท่ ประหยัดและปลอดภัยจากมิจฉาชีพ 

               6. เอาเงินไปฝากธนาคารแบบฝากประจำ อันนี้เป็นวิธีที่หลายคนนิยม ปลอดภัยสุดๆเมื่อเม็ดเงินของคุณถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีในตู้นิรภัยหนากว่าฟุต


               7. ฝึกทำงานพิเศษ หารายได้ด้วยตนเองโดยไม่ง้อแบเงินขอพ่อแม่ให้ลำบากท่าน วิธีนี้เหมาะที่สุดสำหรับนักศึกษาทั้งที่เรียนอยู่และจบทำงานแล้ว เพื่อฝึกให้เห็นถึงความลำบากของการหาเงินและคุณค่าของเงินที่หลายคนหลงลืมไป

                8. ซื้อของลดราคา สามารถหาได้ง่ายตามศูนย์การค้าทั่วไป 

                9. เอาล่ะสิ วิธีนี้เหมาะกับแม่บ้านหัวไวหรืออนาคตนักคณิตศาสตร์โดยเฉพาะ คิดเลขเร็วไง เวลาซื้ออะไรก็รวมรายจ่ายไว้ในสมอง ใช้ประกอบกับข้อสองวิธีนี้ก็จะศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น เผลอๆโตขึ้นได้ติดอันดับกินเนสบุคด้านคิดเลขเร็ว

                10.อย่าหลงคำโฆษณาชวนเชื่อจากปากโฆษกขี้โว  โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกชอบชวนคุยและพวกที่ยิ่งคุยเข้าหูเราก็ยิ่งต้องระวังกันใหญ่

              11. ฝากเงินไว้ที่เพื่อน นัดเวลาเอาเงินคืน ถือเป็น ATM  เคลื่อนที่ไปในตัว แต่มีข้อแม้ว่าต้องเป็นเพื่อนที่ซื่อสัตย์ต่อเราจริงๆเดี๋ยว ATM จะกลายเป็นตู้หยอดเหรียญแทน 

              12. อยู่ว่างๆร้องเพลง "คนมีตังค์" ดังๆ ได้ทั้งความสนุก สู้ชีวิต เผลอๆได้ ตังค์จริงๆด้วย

               13. เรียนรู้กับหลักดำเนินชีวิตที่ในปัจจุบันกำลังนิยมมากคือ “เศรษฐกิจพอเพียง” ในข้อนี้สำคัญมากเพราะเป็นสิ่งที่ในหลวงของเราทรงย้ำเตือนคนไทยมากว่าหลายปี เป็นสิ่งที่ทุกคนควรอย่างยิ่งที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันไม่ให้ขาดตกบกพร่อง






วิธีการประหยัดเงิน แบบที่ 2



วิธีการประหยัดเงิน แบบที่ 2



1. ถ้าจะทำอะไรกินควรจะรู้จักคำว่าทำอะไรก่อนหลัง เพื่อประหยัดไฟ

2. เวลาซื้อไก่  ควรจะซื้อทั้งตัว  จะถูกกว่าไก่แบบตัดเป็นชิ้นๆ  แต่ถ้าหากมีเงินพอแค่ซื้อเป็นชิ้นๆ  ก็ซื้อไปเถิด อย่าซื้ออะไรเกินตัว

 3. ก่อนจะออกไปซื้อของ  ควรกินอะไรรองท้องให้อิ่มเสียก่อน  จะได้ไม่ต้องเสียเงินซื้อกินนอกบ้าน  ขอให้พกเงินติดตัวน้อย  จะได้ไม่ต้องจ่าย

 4. ถ้ามีรถยนต์ส่วนตัวใช้  ควรสูบลมยางให้มากว่าเลขต่ำสุดที่บอกไว้สัก 2-4 ปอนด์  จะทำให้ยางสึกหรอน้อยลง  พวงมาลัยคล่องขึ้น  กินน้ำมันน้อยลง  เวลาขับอย่าเร่งเครื่องเร็วเกินไป  ความเร็วปานกลาง  จะกินน้ำมันน้อย  อย่าแก่เหยียบห้ามล้อบ่ายๆ  หรือแสดงอภินิหารเลี้ยวรถแบบยกล้อ บางจะสึกและเสีย  หรืออาจจะทำให้รถตามหลังอารมณ์เสียจนเราต้องเจ็บตัวหรือเสียอะไรก่อนถึงที่หมาย  ทางที่ดีควรขึ้นรถประจำทางหรือรถไฟฟ้าดีกว่า

 5. ประหยัดไฟฟ้าด้วยการปิดไฟเวลาไม่ใช้งาน  หรือถ้าเป็นห้องแอร์  ควรต้องหิดหน้าต่างให้มิดชิด  ห้องจะได้เย็นอยู่เรื่อยๆ  ทำให้เครื่องปรับอากาศไม่ต้องสตาร์ดบ่อยๆ จะทำให้ประหยัดไฟฟ้าได้มาก

 6. ซื้ออาหาร  ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู  ปลา กุ้ง ผัก ผลไม้  ควรซื้อจากแม่ค้าโดยตรง  ไม่ควรผ่านคนกลาง  ราคาจะถูกลง  ถ้าจะให้ดีจงไปตลาดกำลังจะวาย  จะได้ของถูกว่าตอนเช้า

 7. ถ้าลูกๆ ขอเงินไปดูหนัง  ให้บอกว่า  ไปสวนสาธารณะดีกว่าลูก  จะได้ไม่ต้องเสียเงิน

 8. เงินเดือนออกทุกครั้ง  ถ้าทำได้พยายามเก็บเงินจำนวนหนึ่งเอาไปฝากออมทรัพย์ หากต้องการใช้ระยะ ใกล้ๆ  อย่างน้อยจะได้ดอกเบี้ยบ้างเพราะเขาให้เป็นรายวัน  ถ้าคิดว่าไม่ใช้   ถ้ามีเงินเหลือใช้น่าเอาไปฝากธนาคารแบบฝากประจำ  ดอกเบี้ยจะมากกว่า  โดยออมทรัพย์ร้อยละ 2.5 ฝากประจำอาจจะร้อยละ 5  ถ้าจะให้ดีซื้อพันธบัตรรัฐบาล  ปัญหาก็ตรงที่ว่า  เราพอจะมีเงินฝากเชียวหรือ  ส่วนมากหน้ามืด กันเกือบทุกเดือนเป็นประจำอยู่แล้ว

 9. ถ้าเงินไม่พอใช้  จำเป็นต้องกู้  ควรจะกู้แบบระยะสั้น  ในอัตราดอกเบี้ยที่ไม่ขูดจนเดือดซิบๆ ไม่ควรกู้แบบส่งผ่อนระยะยาว  ดอกเบี้ยมันจะงอกยาวตามไปด้วย

 10. ถ้ามีประกันชีวิตหรือประกันภัย  ควรส่งเป็นรายปีดีกว่ารายเดือนเพราะประหยัดเงินไปได้เกือบ 7- 8 เปอร์เซ็นต์

 11. เวลาเขียนจดหมาย   ควรใช้แบบไปรษณียบัตรจะถูกกว่าเขียนแบบใส่ซองจะเสียตรงชาวบ้านได้อ่านกัน เพลิน   เพราะนิสัยคนไทยค่อนข้างจะสอดรู้สอนเห็นเรื่องชาวบ้านอยู่เรื่อยๆ

 12. ถ้าใครในบ้านเกิดเจ็บป่ายต้องกันยา  อย่าไปซื้อยาตามร้านกินเองเพื่อหวังว่าจะได้ไม้ต้องเสียค่าตรวจ  แต่จะตายเพราะไม่ได้ตรวจ  ฉะนั้น  อย่าได้เสียดายเงินเรื่องให้หมอตรวจ  อย่าซื้อยากินเองโดยพลการจากหมอตี๋ตามร้าน

 13.จะซื้อยาอะไร  ขอให้นึกก่อนซื้อ  ว่าอะไรจำเป็นหรือไม่จำเป็น คือนึกอยากซื้อของทุกวันที่ขวางหน้าไม่ว่าจะจำเป็น




คิดและลงมือทำ



คิดและลงมือทำ

            ปัจจุบันมีเครื่องมือและผลิตภัณฑ์การเงินมากมายที่จะช่วยนักออม แต่อย่าลืมว่า “เวลา” คือสิ่งที่คุณจะต้องใช้ด้วยสำหรับการออมให้ได้เงินก้อนใหญ่ เพราะฉะนั้นก็ไม่ต้องรออะไรทั้งนั้น เริ่มต้นด้วยการวางแผนคร่าวๆ ถึงวิธีและขั้นตอนปฏิบัติ บันทึกรายการสิ่งที่ต้องทำ จากนั้นให้ลงมือทันที

            “การออมเงินขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละคน แต่ต่อให้รายได้น้อยขนาดไหน หากมีจุดเริ่มแล้วจะไปต่อได้แน่ จะมากจะน้อยแต่ก็คือโอกาสที่จะทำให้เจ้าของลุกขึ้นก้าวต่อได้เสมอ คนที่มีเงินออมเยอะอยู่แล้ว ต้องหาความรู้เพื่อบริหารเงินให้คุ้มค่า ส่วนคนมีน้อยอาจต้องประยุกต์นิดหน่อย เช่น ไม่ต้องฝากแบงก์แต่เก็บใส่กระปุกก็ได้ อย่าลืมว่าเงินก้อนนี้มันจะช่วยเราได้จริงๆ